สถานการณ์ล่าสุดที่เมืองบัคมุต ตอนนี้กองทัพแวกเนอร์เป็นฝ่ายได้เปรียบกองทัพยูเครนและเข้าควบคุมพื้นที่ของเมืองได้มากขึ้นเรื่อยๆ
"อิซเวียซเทีย" สื่อของรัสเซียได้เผยแพร่รายงานและคลิปวิดีโอเกี่ยวกับสถานการณ์การสู้รบในเมืองบัคมุต
ภาพวิดีโอที่เผยแพร่ออกมาเผยให้เห็นสภาพความเสียหายของเมืองบัคมุต หลังจากทั้งยูเครนและรัสเซียสู้รบกันต่อเนื่องมานานหลายเดือน
บทบาทของ "กลุ่มแวกเนอร์"ในสงครามยูเครน
คนรัสเซียโอด หนึ่งปีของสงคราม ชีวิตก็ลำบากเช่นกัน
นอกจากนี้ นักข่าวของอิซเวียซเทียได้ไปสัมภาษณ์พูดคุยกับนักรบแวกเนอร์ที่อยู่ในพื้นที่ กลุ่มแวกเนอร์เล่าว่าสถานการณ์การสู้รบเป็นไปอย่างดุเดือดและสามารถปิดล้อมกองทัพยูเครนที่อยู่ตามอาคารบางแห่งเอาไว้ได้
คำบอกเล่าของนักรบแวกเนอร์สอดคล้องกับแผนที่รายงานสถานการณ์ของสถาบันเพื่อการศึกษาสงคราม หรือ ISW ที่เผยให้เห็นว่า กลุ่มนักรบแวกเนอร์เริ่มยึดพื้นที่ใจกลางและพื้นที่ทางตอนใต้ของเมืองบัคมุตมากขึ้นเรื่อยๆ
นอกจากการสู้รบที่เมืองบัคมุตแล้ว เมื่อวานนี้หน่วยงานบริการฉุกเฉินของยูเครนรายงานว่า รัสเซียได้ยิงขีปนาวุธโจมตีใส่พิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองคูเปียนสก์ ในแคว้นคาร์คีฟ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของยูเครนด้วย
ผู้ว่าการแคว้นคาร์คีฟระบุว่า ขีปนาวุธลูกดังกล่าวเป็นขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานรุ่น S-300 และผลจากการโจมตีทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 2 ราย บาดเจ็บอีกกว่า 10 ราย
หลังจากเกิดเหตุ ทางการแคว้นคาร์คีฟได้ส่งเจ้าหน้าที่กู้ภัยพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปสำรวจและช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บที่ติดอยู่ภายใต้ซากปรักหักพัง การช่วยเหลือเป็นไปอย่างยากลำบาก เจ้าหน้าที่หลายคนต้องทำงานแข่งกับเวลา ช่วยกันดึงร่างผู้ได้รับบาดเจ็บที่ติดอยู่ใต้ซากออกมา
ด้านอนาโตลี ไฮโวรอนสกี อดีตเจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์เล่าว่า พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถูกโจมตีในช่วงเวลาเปิดทำการและเจ้าหน้าที่ก็กำลังทำงานอยู่
ขณะที่ประชาชนในพื้นที่ประณามรัสเซียว่า รัสเซียโจมตีไม่เลือกเป้าหมายแม้กระทั่งพื้นที่ของพลเรือนที่ไม่มีทหารอยู่
นอกจากการสู้รบในยูเครนแล้ว วันนี้มีอีกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับยูเครนคือ เหตุการณ์ครบรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล เนื่องจากวันนี้วันที่ 26 เมษายน เป็นวันครบรอบ 37 ปีของมหันตภัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลที่สร้างความสะพรึงกลัวไปทั่วโลก
แม้ประเทศจะอยู่ในภาวะสงคราม แต่ในวันครบรอบปีที่ 37 นี้ ชาวยูเครนหลายคนก็ยังออกมาทำพิธีรำลึกถึงผู้เสียชีวิตจากมหันตภัยในวันนั้น
ประชาชนในเมืองสลาวูติช แคว้นเชอร์นิฮีฟ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบุคลากรที่อพยพออกจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลหลังเกิดภัยพิบัติในปี 1986 ได้ออกมารวมตัวจุดเทียนรำลึกต่อหน้ารูปของผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์เชอร์โนบิลเมื่อ 37 ปีที่แล้ว
อดีตพนักงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลที่มาร่วมพิธีบอกว่า เขาทำเช่นนี้มากว่า 30 ปีแล้ว เพื่อรำลึกถึงผู้ที่จากไปด้วยอุบัติเหตุทางรังสีนิวเคลียร์ในครั้งนั้น
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 26 เมษายน ปี 1986 ในเวลานั้นยูเครนยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล โรงไฟฟ้าสำคัญที่ผลิตพลังงานให้แก่ยูเครนเพื่อขับเคลื่อนประเทศ เกิดระเบิดขึ้นจนกลายเป็นอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ที่เลวร้ายที่สุดเท่าที่โลกเคยประสบพบเจอ
สาเหตุของมหันตภัยเชอร์โนบิลเกิดจากแท่งเชื้อเพลิงในเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 หลอมละลายและระเบิด จนเศษจากการระเบิดบางส่วนได้กระจายไปทั่วอาคาร ทำให้เศษแกนของแท่งกราไฟต์ติดประกายไฟ ส่งผลให้เพลิงลุกไหม้อาคารนานถึง 10 วัน
ผลจากการระเบิดทำให้ฝุ่นกัมมันตรังสีจำนวนมากลอยพวยพุ่งขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ก่อนที่จะถูกกระแสลมพัดพาไปในพื้นที่ต่างๆ ตั้งแต่แถบตะวันตกของรัสเซีย ยูเครน เบลารุส ไล่ไปถึงยุโรปตะวันและยุโรปเหนือ
การรั่วไหลของกัมมันตรังสีที่โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลเมื่อ 37 ปีก่อน มีความรุนแรงอยู่ในระดับ 7 ซึ่งเป็นระดับที่ร้ายแรงที่สุด และทิ้งรังสีที่ปนเปื้อนไว้ทั่วเมืองเชอร์โนบิล กินอาณาบริเวณกว่า 2,600 ตารางกิโลเมตร
ด้วยปริมาณการรั่วไหลที่รุนแรงระดับ 7 ทำให้ทางการสหภาพโซเวียตในเวลานั้นสั่งอพยพประชาชนกว่า 10,000 คนออกนอกพื้นที่ และสร้างเมืองใหม่ที่มีชื่อว่า สลาวูติช เพื่อให้ประชาชนจากเมืองเชอร์โนบิลได้อยู่อาศัยแทนที่อยู่เดิม
ปัจจุบันเมืองเชอร์โนบิลกลายเป็นเมืองร้าง แต่ทางการก็ได้เปิดให้นักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการผจญภัยแวะเวียนไปเยี่ยมชมความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเมือง ภายใต้มาตรการและการกำกับดูแลของเจ้าหน้าที่ทางการ เพราะเชอร์โนบิลยังไม่ปลอดภัยพอที่จะเข้า-ออก หรืออยู่อาศัยได้ตามปกติ
ปัจจุบันบริเวณที่เป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าที่เกิดการระเบิด หรือจุด Ground Zero มีโดมคอนกรีดหนาขนาดมหึมา กว้าง 256 เมตร ยาว 152 เมตรครอบเอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้รังสีรั่วไหลออกมาสู่พื้นที่ภายนอก
แม้จะผ่านมาแล้ว 37 ปี แต่มหันตภัยนิวเคลียร์ที่เชอร์โนบิลยังคงเป็นฝันร้ายสำหรับทั้งยุโรปและโลก
กรณีของเชอร์โนบิลถูกหยิบยกมาเป็นกรณีตัวอย่างเพื่อย้ำเตือนทั้งรัสเซียและยูเครนที่กำลังทำสงครามอยู่ในแคว้นซาโปริซเซีย ที่ตั้งของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ให้ระมัดระวังและไม่สร้างผลกระทบต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จนเกิดเป็นหายนะครั้งใหม่คำพูดจาก นสล็อตออนไลน์
หลังจากที่ผ่านมา IAEA เคยออกมาประกาศเตือนหลายครั้งว่า โรงไฟฟ้าซาโปริซเซียได้รับผลกระทบจากการต่อสู้ของทั้งสองฝ่ายอย่างหนัก จนบางครั้งตัวโรงงานถูกตัดขาดจากไฟฟ้าภายนอกและต้องเดินเครื่องปฏิกรณ์ทั้งหมดด้วยพลังงานสำรอง ซึ่งมีความเสี่ยงที่เครื่องปฏิกรณ์จะขาดแคลนพลังงานและหลอมละลาย